--------like style page----------
--------Chumpen Suksapar's like style page----------

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กินอะไรก็กินได้แบบง่ายๆ (แต่ต้องระวังไว้บ้าง)


กินอะไรก็กินได้แบบง่ายๆ ไม่ต้องยุ่งยาก
ทำเอง เน้นราคาไม่แพงเกินจริง
แต่จะต้อง มีรสชาดแบบไทยๆ
คือเผ็ดนำ ให้รู้สึกถึงความตื่นตัว

บะหมี่สำเร็จรูปผัด ใส่ไข่
เท่านี้ก็อยู่ได้แล้วชีวิต
.............................................


คนชอบสะดวกระวัง ผลวิจัยชี้กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เสี่ยงโรคอ้วนลงพุง เบาหวาน และหลอดเลือดสมองตีบ 

          บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกลายเป็นอาหารยอดนิยมของคนรักความสะดวก เพราะทำง่าย กินง่าย อีกทั้งราคาไม่สูงมาก แต่คนที่กินมันบ่อย ๆ คงต้องเร่งปรับพฤติกรรมตัวเองด่วนเสียแล้ว เมื่อมีงานวิจัยจากสหรัฐฯ โดยโรงพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือดเบย์ลาร์ ในเทกซัส เผยสิ่งที่ค้นพบออกมาว่า ผู้นิยมบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอยู่เป็นนิจ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง มีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนลงพุง (cardiometabolic syndrome) สูงกว่าใคร ๆ อันเป็นเหตุให้โรคเบาหวานและหลอดเลือดสมองตีบตันตามมา โดยผู้หญิงมีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงดังกล่าวสูงกว่าผู้ชาย 

          เดลี่เมล เผยในรายงานเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2557 ว่า ดอกเตอร์ฮุน จุน ชิน ผู้นำการวิจัย ได้วิเคราะห์ผลการศึกษาซึ่งหลัก ๆ ได้มาจากชาวเกาหลีใต้ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นชาติที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากที่สุดในโลก หลังพบว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาชาวเกาหลีจำนวนมากเผชิญกับปัญหาสุขภาพมาก ขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจและน้ำหนักตัวเกิน จึงทำการวิจัยหาความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพและพฤติกรรมการกิน และได้พบว่าในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเหล่านี้เต็มไปด้วย เกลือ ตัวการสำคัญที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดและหัวใจ เมื่อบริโภคเป็นประจำจึงทำให้ต้องเผชิญปัญหาสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

          โดยยังพบว่าผู้หญิงเป็นเพศที่มีความเสี่ยงต่อโรคเหล่านี้มากกว่าเพศชาย ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากความแตกต่างด้านชีวภาพของทั้งสองฝ่าย เช่น ฮอร์โมนเพศ กระบวนการเมตาบอลิซึม เป็นต้น หรืออาจเป็นเพราะในการวิจัยครั้งนี้เพศหญิงให้ข้อมูลได้ละเอียดแม่นยำกว่า เพศชายก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ดี พบว่ามีหนึ่งสารประกอบที่สนับสนุนข้อสังเกตเรื่องนี้คือ ไบสฟีนอล เอ (bisphenol A, BPA) ซึ่งใช้ทำถ้วยโฟมใส่บะหมี่ (Styrofoam) มีส่วนแทรกแซงการทำงานส่งสัญญาณจากฮอร์โมนไปยังร่างกาย โดยเฉพาะเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง 

           นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งงานวิจัยจากโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ เจเนอรัล ที่ศึกษาพบว่า ร่างกายใช้เวลาในการย่อยเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากกว่าเส้นบะหมี่สด เนื่องจากเส้นบะหมี่มีสารเทอร์ริทารี-บิวทิล ไฮโดรควิโนน (Tertiary-butyl hydroquinone, TBHQ) สารที่ได้จากกระบวนการผลิตบิวเทน ซึ่งใช้ในอุตสหกรรมน้ำมัน นั่นเอง 

          แม้ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดในช่วงเวลาเร่งรีบหรือ ช่วงปลายเดือน แต่ดูจากผลการวิจัยแล้วท่าทางมันคงไม่ใช่มิตรแท้ของเราในระยะยาวเป็นแน่ ใครชอบกินบะหมี่ประเภทเติมน้ำร้อนรอไม่กี่นาทีทานได้ คงต้องปรับลดความถี่บ้างแล้วล่ะ ประหยัดเงินค่าอาหารเพื่อไปจ่ายค่ารักษาเพราะโรคภัย ไม่คุ้มกันเลยจริง ๆ 

Cr: http://health.kapook.com/view95937.html

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น